วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ฝ้าย BT (cotton BT)


พันธุวิศวกรรม

ฝ้ายบีที

ความหมายของเชื้อบีที

เชื้อบีที” (Bt) คือชื่อสามัญของเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้กำจัดแมลงชนิดหนึ่งซึ่งประกอบ ด้วยสปอร์ที่มีชีวิตและผลึกพิษจากแบคทีเรียในดินมีชื่อว่า Bacillus thuringiensis เชื้อบีที ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ควบคุมตัวอ่อน(หนอน)ของหนอนใยผัก หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนคืบ กะหล่ำ หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะผล

มะเขือเทศ เชื้อบีทีทั้งในรูปแบบที่เป็นของเหลวและ แบบแห้งมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป ภายใต้ชื่อการค้าที่ แตกต่างกัน โดยปรกติแล้วเชื้อบีทีซึ่งมีชื่อบน ฉลากว่า Bacillus thuringiensis aizawai ให้ผลดี ที่สุดในการกำจัดหนอนใยผัก และตัวอ่อนขนาด เล็กของหนอนกะทู้ผัก(Spodoptera litura) สิ่งที่ สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การใช้เชื้อบีทีนั้นจะได้ผลดีที่ สุดกับหนอนที่มีขนาดเล็ก และเชื้อบีทีจะใช้ไม่ได้ ผลดีนักในการควบคุมตัวหนอนที่มีขนาด ใหญ่
เชื้อบีทีเป็นเชื้อทีมีความปลอดภัยสูงและไม่เป็นสาเหตุที่ก่ออันตรายต่อมนุษย์ ปลา สัตว์ป่า หรือแมลงที่มีประโยชน์ ประโยชน์อันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของการใช้เชื้อบีทีก็คือเชื้อนี้จะไม่ทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติซึ่งช่วยในการควบคุมแมลงศัตรูพืชชนิดต่างๆ อีกทั้งเชื้อบีทีส่วนใหญ่ยังได้รับการ ยอมรับ ให้ใช้ในการผลิตผักอินทรีย์
เชื้อบีทีทำงานแตกต่างจากสารเคมีกำจัดแมลงทั่วๆไป คือ หนอนศัตรูพืชจะต้องกินใบพืชที่ถูกพ่นด้วยเชื้อบีทีใน ปริมาณเล็กน้อยก่อนจึงจะตาย ภายหลังจากกินบีทีแมลงจะยังไม่ตายในทันทีแต่จะมีอาการ ป่วยและหยุดกินอาหารแทบในทันทีหลังจากได้รับเชื้อ
ควรตรวจสอบฉลากของผลิตภัณฑ์ว่าบรรจุเชื้อบีทีสายพันธุ์ Bt aizawai หรือ Bt kurstaki หลายๆประเทศในภูมิภาคเขต ร้อน(รวมทั้งประเทศไทย) หนอนใยผักได้มีการพัฒนาความ ต้านทานต่อผลิตภัณฑ์บีทีที่มีBacillus thuringiensis kurstaki เป็นสารออกฤทธิ์หลัก ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลดีควรเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วย Bacillus thuringiensis aizawai

คำแนะนำสำหรับการใช้เชื้อบีที
1. สำรวจแปลงปลูกพืชสัปดาห์ละสองครั้ง และฉีดพ่น เมื่อพบปริมาณแมลงศัตรูพืชถึงระดับควบคุม ระดับ ควบคุมนี้มิได้ขึ้นอยู่กับปริมาณของแมลงศัตรูพืชเพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงปริมาณของศัตรูธรรมชาติที่พบในแปลงปลูกพืชด้วย ในกรณีที่คุณไม่สามารถลง สำรวจแปลงได้อาจจำเป็นต้องทำการฉีดพ่นเชื้อบีทีทุก3-7 วัน โดยใช้อัตราที่ถูกต้องตามฉลากผลิตภัณฑ์ อาจใช้เชื้อบีทีในอัตราที่สูงขึ้นได้ในกรณีที่ตัวหนอนมีขนาดใหญ่หรือเมื่อพบการระบาดรุนแรง พึงระลึกอยู่ เสมอว่า เชื้อบีทีให้ผลดีที่สุดต่อตัวอ่อนขนาดเล็กและ ตัวอ่อนที่พึ่งฟักออกจากไข่ใหม่ๆ ทำการควบคุมทันที เมื่อเริ่มสังเกตเห็นการเข้าทำลาย
2. ควรฉีดพ่นเชื้อบีทีในตอนบ่ายแก่ๆ เชื้อบีทีจะเสื่อม ประสิทธิภาพเมื่อถูกฉีดพ่นในช่วงเวลาที่มีแสงแดด รุนแรง
3. โปรดระมัดระวังอย่างยิ่งใน การฉีดพ่นให้ครอบคลุม ด้านล่างของใบพืช เช่นเดียวกับด้านบน

เพราะเป็นบริเวณที่หนอนใยผักและหนอนกะหล่ำอื่นๆ เริ่มเข้า กัดกิน

4. ใช้ หัวฉีดคุณภาพดี เพื่อให้ได้ละอองสารที่มีขนาดเล็ก สม่ำเสมอ แรงดันสูงจากเครื่องฉีดพ่นจะทำให้การ ฉีดพ่นทำได้ทั่วถึงครอบคลุมพื้นที่และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ควรผสมเชื้อบีทีกับสารจับใบ หรือ สารช่วยแพร่กระจายในการฉีดพ่นทุกครั้ง ในกะหล่ำปลีและพืชตระกูลกะหล่ำอื่นๆ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากมิฉะนั้นสารฉีด พ่นจะไม่จับติดอยู่บนใบพืชผัก
6. ควรให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด หรือให้น้ำตาม ร่อง การให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ หรือการ ตักน้ำรดภายหลังการฉีดพ่น น้ำจะไป ชะล้างเชื้อบีทีออกจาพืช และหากภายใน 48 ชม. หลังฉีดพ่นมีฝนตกหนักให้ฉีดพ่น เชื้อบีทีซ้ำอีกครั้ง
7. ใช้เชื้อบีทีที่ผสมเสร็จใหม่ สำหรับการ ฉีดพ่นแต่ละครั้ง อย่าพยายามประหยัด โดยการเก็บสารผสมที่เหลือใช้ในถัง พ่นเพื่อใช้งานในวันต่อไป เนื่องจาก เชื้อจะเริ่มสูญเสียประสิทธิภาพเมื่อ ผสมทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน เพื่อให้ ได้ผลดีที่สุดเมื่อผสมแล้วควรใช้ฉีด พ่นให้หมดในวันเดียว และห้ามใช้เชื้อ บีทีสูตรน้ำที่เก็บข้ามปี ควรซื้อขวด หรือถุงใหม่ทุกปี พร้อมทั้งสอบถาม อายุของผลิตภัณฑ์นั้น ซื้อเฉพาะยี่ห้อ ที่รู้จักกันดี จากตัวแทนจำหน่ายที่มี ชื่อเสียง แทนที่จะพิจารณาผลิตภัณฑ์ เฉพาะที่ราคาถูกเท่านั้น

8. ในกรณีที่จำเป็นต้องฉีดพ่นทุกสัปดาห์ เป็นเวลาติดต่อกัน 3 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น, ห้ามใช้เชื้อบีทีทุกครั้งที่ทำการฉีดพ่น แต่ให้ใช้สารสกัดสะเดา หรือ สารกำจัดแมลงชนิดอื่นที่มีพิษต่ำ สลับ กับการใช้เชื้อบีที 2-3 ครั้ง สารสะกัด สะเดาได้รับการอนุญาตให้ใช้ในการ ผลิตพืชอินทรีย์ได้ แต่อาจเป็นอันตราย ต่อแมลงที่มีประโยชน์ได้มากกว่า เชื้อบีที

ฝ้ายบีที คือ

ฝ้ายบีทีเป็นพันธุ์ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่เกิดจากการใส่ยีนของแบคทีเรียในดินลงไป เพื่อให้ฝ้ายผลิตพิษฆ่าแมลงบางชนิดได้เอง

ฝ้ายบีที บริษัทมอนซานโต้



จอห์น ฟรานซิส ควีนนี ซึ่งศึกษาหาความรู้ในวิชาเคมีด้วยตัวเองมาโดยตลอดและเป็นผู้ก่อตั้ง "บริษัทมอนซานโต้" ขึ้นในอเมริกาเมื่อ ค.ศ. ๑๙๐๑ คงคิดไม่ถึงว่า จากโรงงานผลิตกำมะถันเล็ก ๆ ที่มลรัฐอิลลินอยส์ มอนซานโต้จะกลายมาเป็นยักษ์ใหญ่ที่ครอบครองตลาดเมล็ดพันธุ์พืช และสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรทั่วโลกอย่างทุกวันนี้

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ในกลุ่มมอนซานโต้ ผลิตออกมา นอกจากจะมียาฆ่าแมลงศัตรูพืช ยาปราบวัชพืช และสารเร่งการเจริญเติบโตนานาชนิด เป็นตัวยืนพื้นแล้ว ในระยะหลัง พวกเขายังทุ่มเทให้แก่การวิจัย เพื่อปรับปรุงพันธุ์พืช และเทคโนโลยีชีวภาพ จนเกิดเป็นพันธุ์พืชต้านทานแมลง พันธุ์พืชต้านทานไวรัส พันธุ์พืชที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืชขึ้นอีกด้วย นิตยสาร ยูเนสโก คูริเย ให้ข้อมูลว่าในปี ๒๕๔๐ บริษัทมอนซานโต้ใช้จ่ายเงินถึง ๑๖๖ ล้านเหรียญ ในการวิจัยเรื่องพืชที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) เหล่านี้
ใต้รูปเถาไม้สีเขียวมะกอก สัญลักษณ์ของมอนซานโต้ ปรากฏถ้อยคำ "อาหาร สุขภาพ ความหวัง" อยู่ด้วยเสมอ พวกเขาบอกว่าทั้งสามคำนี้หมายถึง "ภาระหน้าที่ของบริษัท ในการประกอบธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ของมนุษยชาติ ๖ พันล้านคน ที่อาศัยอยู่ในโลกคล้ายครอบครัวเดียวกัน"

แต่ในประวัติศาสตร์ ๙๙ ปี คงไม่มีช่วงเวลาไหนที่มอนซานโต้จะถูกโจมตี และตั้งคำถามจากนักวิทยาศาสตร์ / เกษตรกรบางกลุ่ม และองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มากเท่ากับในทศวรรษ ๑๙๙๐ อีกแล้ว เป็นต้นว่า ไม่เป็นการดีกว่าหรือ ที่จะให้พืชเหล่านี้ต่อสู้กับโรค และแมลงทำลายพืชต่าง ๆ ด้วยตัวของมันเอง ?, สารพิษต้านทานแมลง ที่ถูกใส่ลงไปในพืชโดยวิธีการทางพันธุวิศวกรรม อาจทำให้เกิดแมลงชนิดใหม่ ที่ต้านทานต่อสารชนิดนั้นขึ้น, พืชที่มีการปรับแต่งสายพันธุ์ ให้ต้านทานต่อยากำจัดวัชพืช ทำให้มีการใช้ยากำจัดวัชพืชเพิ่มขึ้น เพราะเกษตรกรรู้ว่า พืชของตนสามารถทนทานต่อยาได้, มีการค้นพบว่า ยีนจากพืชที่ผ่านการปรับแต่งสายพันธุ์ ให้ต้านทานยากำจัดวัชพืชนั้น สามารถแพร่กระจายไปสู่วัชพืชด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้าง "วัชพืชมหัศจรรย์ที่ไม่กลัวยาฆ่าหญ้า" ขึ้นได้, บริษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ อย่างมอนซานโต้จะได้รับผลประโยชน์มหาศาล เพราะเกษตรกรรายย่อย จะต้องซื้อเมล็ดพืชของบริษัททุกปี ซึ่งย่อมมีราคาแพงกว่าเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองทั่วไป ฯลฯ
สำหรับประเทศไทย ตลอดระยะเวลา ๓๒ ปีที่มาตั้งสำนักงานขึ้นที่นี่ ชื่อของบริษัทมอนซานโต้ (ไทยแลนด์) เพิ่งจะกลายมาเป็นจุดสนใจของผู้คนวงกว้าง พร้อม ๆ กับการมาถึงของ "ฝ้ายบีที" ซึ่งมอนซานโต้ขออนุญาตนำเข้ามาปลูกในเมืองไทยนั่นเอง
เบซิลลัส ทูริงจิเอนซิส (บีที) คือโปรตีนของแบคทีเรียในดินที่ถูกนำมาใส่ในฝ้าย ทำให้กลายเป็นพันธุ์ต้านทานแมลง ที่เป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของฝ้าย คือ หนอนเจาะสมอฝ้าย เมื่อหนอนมากัดกินส่วนต่าง ๆ ของฝ้ายบีที โปรตีนชนิดนี้จะเข้าไปเจาะกระเพาะของหนอนจนเป็นรู ทำลายกระบวนการย่อย หนอนจะหยุดกินอาหารและตายไป
"ช่องทางเดียวที่บริษัทข้ามชาติ จะนำพันธุ์พืชเข้ามาปลูกภายในประเทศนี้ คือ การนำเข้ามา เพื่อทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพ" เครือข่ายสิทธิภูมิปัญญาไทยกล่าว "กระบวนการอนุญาตให้นำพืชแปลงพันธุกรรม มาทดลองปลูกเป็นแค่เพียงช่องทางให้บริษัทข้ามชาติ นำพืชเหล่านี้มาปลูกภายในประเทศได้ง่ายขึ้น"
แถลงการณ์จากแปดองค์กรต่อต้านพืชแปลงพันธุกรรม ระบุว่า "เนื่องจากบรรษัทข้ามชาติห้า แห่งเป็นผู้ผูกขาด ตลาดพันธุ์พืชแปลงพันธุกรรมของโลกเอาไว้ทั้งหมด ทำให้เกษตรกร ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ในราคาแพง ขณะนี้เมล็ดฝ้ายแปลงพันธุกรรม มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ ๖๐๐ บาท แพงกว่าเมล็ดฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองถึง ๑๗ เท่า, การนำพืชแปลงพันธุกรรม เข้ามาปลูกภายในประเทศ จะทำให้เกิดการผสมเกสรข้ามไปสู่พันธุ์พืชพื้นเมือง พันธุ์พืชที่บรรพบุรุษของเราอนุรักษ์ และพัฒนา จะถูกทำลายในระยะเวลาอันสั้น และสุดท้าย พืชแปลงพันธุกรรม จะทำลายแมลงที่มีประโยชน์ และจะทำให้เกิดการระบาด ของแมลงศัตรูพืชในระยะยาว"

ปัญหาใหญ่ในมุมมองขององค์กรพัฒนาเอกชน อีกประการหนึ่งก็คือ การที่มีเมล็ดฝ้ายบีที หลุดลอดไปสู่พื้นที่เกษตรกรรม ทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ความปลอดภัยทางชีวภาพ
แรงต่อต้านที่เกิดขึ้นทำให้นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัดสินใจตั้งคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาผลกระทบจากฝ้ายบีทีขึ้นอีกครั้ง และเมื่อถึงปี ๒๕๔๓ ก็อนุมัติให้กรมวิชาการเกษตร ทดลองปลูกฝ้ายบีทีอีกสองฤดู ในแปลงใหญ่ของศูนย์ และสถานีวิจัยสี่แห่ง (นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, นครราชสีมาและเลย)
คำสั่งให้ "ทำการศึกษาเพิ่มเติม" ของนายเนวิน ซึ่งจะดำเนินไปจนถึงปี ๒๕๔๔ เพื่อหาข้อมูลประกอบการพิจารณา ว่าควรอนุญาตให้เกษตรกรปลูกหรือไม่ ดูเหมือนจะทำให้สงครามข้อมูล / ความเห็นระหว่างผลดีกับผลเสีย ของการปลูกฝ้ายบีที ทำท่าว่าจะสงบลง แต่ในระดับพื้นที่ กลับมีการเคลื่อนไหวบางอย่างที่น่าสนใจ

๑๙ กันยายน ๒๕๔๓ บริษัทมอนซานโต้ ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร จัดแจงพาชาวไร่ฝ้ายกว่า ๒๐๐ คน จากนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ลพบุรี เลย มาเยี่ยมชม และฟังการบรรยาย เกี่ยวกับฝ้ายบีที ภายในศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อ. ตากฟ้า จ. นครสวรรค์
"เรากำลังทำการทดสอบเพื่อยืนยันว่าฝ้ายบีที มีความต้านทานต่อหนอนจริง และจะไม่เกิดผลเสีย / อันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสุขอนามัยของผู้ปลูก ไม่ทำให้ระบบนิเวศวิทยาเสียไป" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่กล่าวกับเกษตรกร

ปริญญา สีบุญเรือง นักวิชาการผู้ดูแลแปลงฝ้ายบีทีชี้แจงว่า การทดลองปลูกในครั้งนี้ บริษัทมอนซานโต้ ไม่ได้ให้การสนับสนุนอะไร แต่กรมวิชาการเกษตร ทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ และต้องการหาข้อมูลเสนอกับประชาชน ก่อนที่จะนำปลูกฝ้ายบีที ไปปลูกในเชิงพาณิชย์ โดยระหว่างนี้ศูนย์วิจัยฯ มั่นใจว่าไม่มีฝ้ายบีที “หลุด” ออกไปสู่แปลงของเกษตรกรอย่างแน่นอน และเมื่อฝ้ายในแปลงทดลองติดสมอแล้ว พวกเขาจะทำการเผาฝ้ายทิ้งทั้งหมด
แต่ชาวไร่ฝ้ายหลายคนที่มาร่วมดูงานในวันนั้นบอกกับสื่อมวลชนตรงกันว่า เกษตรปลูกฝ้ายพันธุ์ใหม่นี้ กันเป็นแสน ๆ ไร่แล้ว “ตอนนี้ชาวไร่ปลูกไร้หนอน (ฝ้ายบีที) กันไปเยอะแล้ว จะไปคอยหลวงอนุญาตก็ไม่ไหว” ราตรี มนตรี คนปลูกฝ้ายจากเพชรบูรณ์กล่าว
ชาวไร่ฝ้ายคนหนึ่งเล่าว่าเมื่อปีกลาย เขาซื้อเมล็ดฝ้ายไร้หนอนมา ในราคากิโลกรัมละ ๒๕๐ บาท ในขณะที่ฝ้ายพันธุ์ศรีสำโรง ราคากิโลกรัมละ ๕๐ บาท คนปลูกฝ้ายชอบฝ้ายบีที เพราะไม่ต้องฉีดยาฆ่าหนอนบ่อยเท่าฝ้ายศรีสำโรง และถึงเมล็ดพันธุ์จะแพงกว่า ก็ยอมจ่ายเพราะมันช่วยประหยัดค่ายาฆ่าหนอนได้ ทั้งชาวไร่ก็ไม่ต้องกลัวพิษจากยาฆ่าแมลงด้วย ส่งเดียวที่การปลูกฝ้ายบีที ทำให้พวกเขากลัว ไม่ใช่ผลกระทบต่อระบบนิเวศ หรือสุขภาพของตน หากแต่เป็นความหวาดกลัวว่า จะถูกจับเนื่องจากขณะนี้รัฐบาล ยังไม่อนุญาตให้ปลูก

ช่วงท้ายของวัน นักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร สรุปให้เกษตรกรฟังสั้น ๆ ว่า ข้อมูลที่ได้จากการทดลองที่ผ่านมาพบว่า ฝ้ายบีทีค่อนข้างปลอดภัยต่อผู้ใช้ และแมลงศัตรูพืชที่มีประโยชน์ เพราะมันเฉพาะเจาะจง ในการฆ่าเฉพาะหนอนเจาะสมอฝ้ายเท่านั้น” ส่วนเจ้าหน้าที่จากบริษัทมอนซานโต้ บอกให้พี่น้องผู้ปลูกฝ้ายรอคอยอย่างใจเย็น “ต้องรอให้ผ่านกระบวนการตรวจสอบ ทางวิทยาศาสตร์อีกสักพัก พวกเราถึงจะได้ปลูกฝ้ายบีทีกันอย่างถูกกฎหมาย อย่างไรก็ตามสิ่งที่บริษัททำก็คือ พยายามหาสิ่งที่จะทำให้ ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเราดีขึ้น”
พร้อมกับการจัดอบรม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับฝ้ายบีทีในครั้งนี้ บริษัทมอนซานโต้ (ไทยแลนด์) ยังได้พาสื่อมวลชนไทยจำนวนหนึ่ง ไปศึกษาดูงานที่สำนักงานใหญ่ ในสหรัฐอเมริกาด้วย

ก่อนหน้านี้เพียงหนึ่งสัปดาห์ ระหว่างวันที่ ๖-๑๗ กันยายน ๒๕๔๓ เครือข่ายสิทธิภูมิปัญญาไทย ก็ได้จัดกิจกรรม “Asian Long March For Biodiversity” หรือ การรณรงค์สัญจร ปกป้องพันธุกรรมพื้นเมืองขึ้น โดยตระเวนไปยังจังหวัดสงขลา เพชรบุรี เชียงใหม่ เลย และร้อยเอ็ด เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น จากการปลูกพืชตัดต่อยีน โดยเฉพาะฝ้ายบีที
การรณรงค์ในครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม จากคำบอกเล่าของเกษตรกรว่า ชาวไร่ฝ้ายหลายคน มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อนตามมือ และมีอาการมึนหัว ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นเลยตลอดหลายสิบปีที่ปลูกฝ้าย เมื่อนำมาพูดคุยกัน จึงได้รู้ว่าคนที่ปลูกฝ้ายบีที มีอาการคล้าย ๆ กันหมด พวกเขาจึงเริ่มเชื่อว่า สารบีทีที่ถูกปลูกถ่ายลงไปในฝ้ายนั้นมีพิษภัย

ความเคลื่อนไหวในระดับพื้นที่เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่า สถานการณ์เรื่องฝ้ายบีที รุนแรงกว่าที่คิดมากนัก จึงอาจเป็นการง่ายเกินไป ที่จะมองว่า กรณีการปลูกฝ้ายบีทีนั้น ยังอยู่ระหว่างการทดลอง เพื่อศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ตามคำสั่งสุดท้าย ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์


ฝ้ายพันธุวิศวกรรม

จากการประชุมกรรมาธิการที่ปรึกษาฝ้ายนานาชาติ ครั้งที่ 60 ที่ประเทศซิมบับเว มีรายงานว่าในปี 2544 ประมาณการพื้นที่ปลูกฝ้ายร้อยละ 10 ของพื้นที่ฝ้ายทั้งหมด เป็นการปลูกฝ้ายพันธุวิศวกรรม (GMOS) ซึ่งปลูกในประเทศอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย จีน เม็กซิโก อัฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา คาดว่าใน 5-7 ปีข้างหน้า พื้นที่ปลูกฝ้ายพันธุวิศวกรรม จะขยายมากขึ้นเป็นร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมด ฝ้ายพันธุวิศวกรรมนี้ เป็นฝ้ายที่ปรับปรุงขึ้นมาเพื่อ ให้สามารถต้านทานแมลงและสารกำจัดวัชพืชได้ สำหรับคุณภาพของเส้นใยยังไม่มีผลพิสูจน์ว่าคุณภาพของฝ้ายพันธุ์นี้จะดีขึ้น และยังไม่มีข้อมูลว่ามีผลกระทบ ต่อสุขภาพของสัตว์และมนุษย์ หรือมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

ในประเทศอินโดนิเซีย หลังจากที่มีการชะลอปลูกฝ้ายพันธุวิศวกรรม ซึ่งมีแผนการปลูกฝ้ายในพื้นที่ 20,000 เฮกแตร์(125,000 ไร่) ทางตอนใต้ของรัฐสุลาเวสี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 รัฐบาลได้อนุมัติให้นำเข้าเมล็ดพันธุ์ฝ้าย จากบริษัทมอนซานโต้ สหรัฐอเมริกา จำนวน 40 ตัน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2544 แม้ว่าจะมีกระแสต่อต้านก็ตาม จากโครงการนำร่องปลูกฝ้ายพันธุวิศวกรรมพื้นที่ 4,363 เฮกแตร์(27,000 ไร่) แสดงให้เห็นว่าฝ้ายพันธุ์นี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าฝ้าย พันธุ์คาเนเซียที่อินโดนิเซียใช้อยู่เดิม โดยให้ผลผลิต 2.2 ตันต่อเฮกแตร์( 352 กก.ต่อไร่) สูงกว่าพันธุ์เดิมซึ่งได้ผลผลิต 1.4 ตันต่อเฮกแตร์ (224 กก.ต่อไร่) ถึงร้อยละ 57 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่าอินโดนีเซียมีความต้องการฝ้ายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยมีการนำเข้าฝ้ายถึงปีละ 5 แสนตัน


ปี ๒๕๓๘ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้ทำการทดลองปลูกฝ้ายชนิดนี้ โดยเริ่มจากปลูกในโรงเรือนที่ปิดมิดชิด ตามด้วยการทดสอบในสถานีทดลองของรัฐ เช่น ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมา และสถานีทดลองพืชไร่ศรีสำโรง จากนั้นจึงขยายไปปลูกในแปลงใหญ่ของเกษตรกร
ทั้งหมดนี้ดำเนินไปภายใต้การควบคุม ของคณะกรรมการบริหารโครงการทดสอบฝ้ายบีที เนื่องจากฝ้ายพันธุ์นี้ ยังจัดว่าเป็น "พืชต้องห้าม" ที่จะนำเข้ามาปลูกภายในประเทศตาม พ.ร.บ. กักกันพืช พ.ศ. ๒๕๐๗ (แก้ไขปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๗)
ปรากฏว่าการทดลองปลูกฝ้ายบีที ของกรมวิชาการเกษตรถูกโจมตีอย่างหนัก จากนักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชน

ประสบการณ์ในจีนแสดงผลกระทบด้านลบ

ของฝ้ายบีที
รายงานของกรีนพีซ - [ 15 ก.ค. 45, 15:24 น. ]


ประสบการณ์ในจีนแสดงผลกระทบด้านลบ ของฝ้ายบีทีดัดแปลงพันธุกรรม ต่อสิ่งแวดล้อม
รายงานของกรีนพีซเปิดเผยประสบการณ์จากรายงาน การวิจัยของประเทศจีนเรื่องฝ้ายบีทีดัดแปลงพันธุกรรม แสดงให้เห็นถึง ผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม หลัง จากปลูกฝ้ายบีทีเชิงพาณิชย์เพียงห้าปี

สรุปได้ว่า พืชพันธุ์จีเอ็มโอนี้จะหมดประสิทธิภาพ ในการควบคุม แมลง หลังจากแปดถึงสิบปีของการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง
จากการ ทดสอบทางห้องปฏิบัติการและการติดตามตรวจ สอบการปลูก ฝ้ายบีทีดัดแปลงพันธุกรรม

ในไร่นา โดย สถาบันวิทยาศาสตร์ แห่งรัฐของจีน 4 แห่ง มีข้อพิสูจน์ว่า

หนอนเจาะสมอฝ้ายพัฒนาความทนทานต่อบีทีขึ้น นอกจากนี้ แมลงที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติ ของแมลงศัตรูพืช ยังลดลงอย่างเห็นได้ชัด และแมลงศัตรูพืชชนิดรองๆ ลงไปมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ตัวแปรเหล่านี้ บีบบังคับให้ชาวนาต้องใช้สารเคมีฆ่าแมลงต่อไป และอาจเกิดแมลงชนิดพิเศษบางชนิดขึ้นได้ เนื่องจากระบบนิเวศ แมลงไม่มั่นคง

ผู้ทำการศึกษานี้คือ ศาสตราจารย์ซู ต้าหยวน ซึ่งเป็นนักวิจัยของสถาบันวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมนานจิง และเป็นที่ปรึกษาของ กรีนพีซ อาจารย์ซูกล่าวว่า "รายงานนี้ยืนยันว่าฝ้ายบีทีถูกเผยแพร่ออกไปสู่สิ่งแวดล้อมเร็วเกินไป หลังจากการปลูกเพียง 5 ปี เกษตรกรจีน และนักวิทยาศาสตร์จีนกำลังเผชิญปัญหาหนัก และเผชิญกับความจริงที่ว่า เราแทบไม่รู้เลยว่า พืชจีเอ็มโอจะก่อให้เกิดผลกระทบอะไรต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง ความคาดหวังอันสูงส่งพังทลายลงแล้ว และความเป็นจริงแสดงให้เห็นว่า เรื่องที่อุตสาหกรรมจีเอ็มโอ บอกว่า จีเอ็มโอปลอดภัยนั้นไม่เป็นความจริง

ฝ้ายบีทีเป็นพันธุ์ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่เกิดจากการใส่ยีนของแบคทีเรียในดินลงไป เพื่อให้ฝ้ายผลิตพิษฆ่าแมลงบางชนิดได้เอง ฝ้ายบีทีถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในจีนครั้งแรกเมื่อปี 2540 โดยบริษัทมอนซานโต้ ซึ่งโฆษณาว่า ฝ้ายบีทีเป็นพืชมหัศจรรย์ ในการแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืช ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

พื้นที่เพาะปลูกฝ้ายบีทีเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 ล้านเฮคเตอร์ในปี 2544 ซึ่งนับเป็นร้อยละ 35 ของพื้นที่ ปลูกฝ้ายทั้งหมด ฝ้ายบีทีของมอนซานโต้คิดเป็น 2 ใน 3 ของฝ้ายจีเอ็มโอทั้งหมดที่ ปลูกในประเทศจีน

จากรายงานสรุปผลการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของฝ้าย บีทีในประเทศจีนนั้น การวิจัยในห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่า หลังจากแมลงชนิดนี้กินใบฝ้ายบีทีติดต่อกันจนถึงแมลงรุ่นที่ 17 ความอ่อนแอต่อพิษบีทีของแมลงลดลงเหลือร้อยละ 30 และเมื่อ ให้กินใบฝ้ายบีทีต่อเนื่องไปจนถึงรุ่นที่ 40 ความต้านทานของหนอนเจาะสมอฝ้ายต่อบีทีเพิ่มขึ้น 1000 เท่า ยิ่งไปกว่านั้น จำนวน ประชากรของศัตรูพืชตามธรรมชาติของหนอนเจาะสมอฝ้าย ลดลงมากในไร่ฝ้ายบีที แมลงศัตรูพืชชนิดรองลงไป เช่น เพลี้ยฝ้าย ไรแมงมุมฝ้าย แมลงที่กินใบไม้ และแมลงชนิดอื่นๆ เข้ามาเป็นแมลงศัตรูพืชอันดับหนึ่งแทนที่หนอนเจาะสมอฝ้าย นอกจากนั้น พิษในการต้านทานแมลงกินฝ้ายของฝ้ายบีทีลดลงเรื่อยๆ"

นายโล ซีปิง ผู้จัดการโครงการจัดตั้งกรีนพีซ ประเทศจีน ตั้งคำถามกับบริษัทมอนซานโต้ว่า "ในขณะนี้เกษตรกรที่ปลูกพืชจีเอ็มโอ พบว่า ตัวเองกำลังพัวพันอยู่กับซูเปอร์แมลงที่สามารถทนทานต่อพิษบีที รวมถึงปัญหาจากแมลงศัตรูพืชชนิดรองลงมา จำนวนศัตรูตามธรรมชาติของหนอนเจาะสมอฝ้ายลดลง ระบบนิเวศวิทยามีความเสี่ยงต่อความผิดปกติสูงขึ้น อีกทั้งยังจำเป็นที่จะต้องฉีดสารเคมีฆ่าแมลงต่อไป เพื่อจัดการกับสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ที่เพิ่มมากขึ้น มอนซานโต้จะจัดการกับปัญหาที่เกิดจากการขาดการระวัง ไว้ก่อนของตนหรือไม่

รัฐบาลจีนและประสบการณ์จากประเทศจีนมีบทบาทในการช่วยเหลือ ประชาคมโลก เพื่อเป็นหลักประกันว่า บริษัทใหญ่อย่าง มอนซานโต้ จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาและเผยแพร่พืชจีเอ็มโอ" นายโล ซีปิง กล่าวเสริม


การทดลองปลูกฝ้ายพันธุ์บีทีในประเทศไทย

ซึ่งได้ทำการทดลองไปแล้วในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และสรุปผลว่ามีความปลอดภัยทั้ง ๆ ที่นักวิชาการที่เข้าไปตรวจสอบยังมีความเห็นว่ากระบวนการทำการทดลองยังไม่สอดคล้องกับผลที่ต้องการ และการทดลองก็ไม่ได้มีสภาพใกล้เคียงกับการปลูกในพื้นที่จริง การทดลองปลูกฝ้ายพันธุ์บีทีในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์หลักสามประการคือ
๑. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของฝ้ายตัดต่อสารพันธุกรรมในการป้องกันและกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย
Heliothis armlgera (Hubner)
๒. เพื่อทดสอบผลกระทบของฝ้ายตัดต่อสารพันธุกรรมต่อแมลงศัตรูธรรมชาติสองชนิดคือ แตนเบียนไข่
Trichogramma confusum และ Trichogramma pretlosum
๓. เพื่อทดสอบผลกระทบของฝ้ายตัดต่อสารพันธุกรรมต่อแมลงที่มีประโยชน์ ได้แก่ ผึ้ง และชันโรง
กระบวนการทำการทดลองได้ทำทั้งหมดสามขั้นตอนคือ ทดลองในแล็บ ทดลองในโรงเรือน และทดลองใน แปลงสาธิต หลังจากทำการทดลองแล้วจะมี
คณะทำงานตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพของฝ้ายตัดต่อสารพันธุกรรมภาคสนาม ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปตรวจสอบอีกครั้ง
ผลที่ได้จากการตรวจสอบของคณะทำงานฯ (จากการปลูกฝ้าย เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๙ ) ลงวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๐ พบว่า
คณะทำงานฯ ได้วิเคราะห์แล้วเห็นว่าการทดสอบครั้งนี้ยังไม่เหมาะสมดีพอ ทำให้ได้รับข้อมูลที่ต้องการน้อยมาก เพราะการปลูกฝ้ายล่าช้า หรือเป็นการปลูกฝ้ายนอกฤดู ปลูกฝ้ายในแหล่งที่ไม่ใช่แหล่งปลูกฝ้าย ทำให้การระบาดของ หนอนเจาะสมอฝ้ายซึ่งเป็นแมลงศัตรูฝ้ายเป้าหมายน้อยมาก ไม่สามารถนำมาพิจารณาความต้านทานต่อหนอนเจาะสมอฝ้ายบีทีได้ ฉะนั้นจึงเห็นสมควรเสนอแนะให้ผู้ได้รับอนุญาต (บริษัทมอนซานโต้ ไทยแลนด์ จำกัด) ได้ดำเนินการทดลองใหม่ให้เหมาะสม โดยขอให้ปลูกฝ้ายในฤดูปลูก ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งปลูกฝ้ายที่สำคัญ ๆ โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีการระบาดของหนอนเจาะสมอฝ้ายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการอย่างเหมาะสมและถูกต้องต่อไป ส่วนในด้านความเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทดลองครั้งนี้ได้วิเคราะห์แล้วว่าน่าจะมีความปลอดภัย เพราะได้พบแมลงที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติและแมลงที่เป็นประโยชน์ในแปลงฝ้ายบีทีเหมือนกับแปลงฝ้ายพันธุ์อื่น ๆ ตามปกติ"
ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับพืชตัดต่อสารพันธุกรรมที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ ก็คือ ความปลอดภัยต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากผลการทดลองในประเด็นดังกล่าวยังไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายองค์กรพัฒนา เอกชนหรือเอ็นจีโอ โดยเฉพาะเครือข่ายสิทธิภูมิปัญญาไทยนำทีมโดยวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ และเดชา ศิริภัทร ที่ติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องและได้ ชี้แจงถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาโดยทางเอ็นจีโอได้เรียกร้องให้มีการทดลองครั้งใหม่ที่ครอบคลุมในเรื่องความปลอดภัยด้านต่าง ๆ และสามารถยืนยันถึงความปลอดภัยได้จริง ๆ ทั้งนี้ทางเครือข่ายสิทธิภูมิปัญญาไทยได้สรุปวิจารณ์การทดลองปลูกฝ้ายพันธุ์บีทีไว้ดังต่อไปนี้
๑. การศึกษาผลกระทบของฝ้ายตกแต่งพันธุ์ที่มียีนบีที ต่อแตนเบียนไข่ปกติแล้วแตนเบียนไข่ (
Trichogramma sp.) จะวางไข่และอาศัยอยู่บนตัวหนอนเจาะสมอฝ้ายแล้วจึงกินตัวหนอนเจาะสมอฝ้าย แต่การทดลองได้ใช้วิธีการนำน้ำผึ้งมาเลี้ยงตัวเต็มวัยของแตนเบียนไข่ ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง เพราะถ้าหากจะ วัดผลกระทบของยีนที่มีต่อแตนเบียนไข่จะต้องทดสอบอาหารที่เป็นโปรตีน ซึ่งก็คือหนอนเจาะสมอฝ้ายที่กินฝ้ายปกติ เปรียบเทียบกับหนอนที่กินฝ้ายบีที
๒. การเปรียบเทียบมาตรฐาน : พันธุ์ฝ้ายทนหนอนเจาะสมอฝ้าย
๒.๑ ประสิทธิภาพการให้ผลผลิต ในการทดสอบประสิทธิภาพของการให้ผลผลิต เป็นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพันธุ์ฝ้ายที่แตกต่างกัน ไม่ได้ทำการศึกษาระหว่างฝ้ายพันธุ์เดียวกันแต่เป็นพันธุ์ที่มียีนหรือไม่มียีนบีที
๒.๒ ผลกระทบของฝ้ายบีทีต่อแมลงศัตรูฝ้ายชนิดอื่น ๆ ขณะที่ฝ้ายมีแมลงศัตรูพืชหลายชนิด แต่การศึกษายังไม่ได้ศึกษาผลกระทบของฝ้ายบีทีที่มีต่อแมลง ศัตรูพืชอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากหนอนเจาะสมอฝ้าย ซึ่งจากการทดลองพบว่าหากมีแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นที่ที่ไม่ใช่ หนอนเจาะสมอฝ้ายแพร่ระบาด การควบคุมการแพร่ระบาดยังคงต้องใช้สารเคมีควบคุมเช่นเดิม อนึ่งหนอนเจาะสมอฝ้ายไม่ได้มีการแพร่ระบาดตลอดทุกปี หากมีการปลูกฝ้ายบีทีก็เท่ากับเป็นการฉีดพ่นสารบีทีกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย ตลอดเวลา ซึ่งมีผลทำให้
แมลงสามารถพัฒนาพันธุ์ในรุ่นต่อ ๆ ไปให้มีความต้านทานต่อฝ้ายบีทีได้มากขึ้น ทำให้ต้อง เปลี่ยนสายพันธุ์บีทีต่อไปในอนาคต ในการทดลองผลกระทบของฝ้ายพันธุ์บีทีต่อแมลงชนิดอื่น ๆ ที่มีวงจรชีวิตสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องในระบบการปลูกฝ้าย ควรศึกษาทั้งวงจรชีวิตสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องในระบบการปลูกฝ้าย ควรศึกษาทั้งวงจรชีวิตขอแมลงต่าง ๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารนั้นในช่วงระยะเวลายาวนาน เช่น ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูฝ้าย แมลงอาศัยพืช อาศัยวัชพืช
๒.๓ การผสมข้ามกับพันธุ์พืชพื้นเมือง เป็นการทดลองเพื่อหาค่าของโอกาสการถ่ายทอดยีนบีทีไปสู่พันธุ์พืชพื้นเมือง พบว่ามี ๑ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจัดว่าเป็นค่าที่สูงพอที่จะเกิดการถ่ายทอดยีนบีทีไปยังพืชชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน ซึ่งควรจะทำการศึกษาเพิ่มเติมว่าเมื่อเปรียบเทียบการผสมข้ามระหว่างฝ้ายธรรมดากับฝ้ายบีทีแล้วจะเกิดเป็นวัชพืชหรือไม่ มากกว่าการตัดต่อฝ้ายบีทีเพื่อดูการแตกกิ่งก้าน
๓. การทดสอบผลกระทบของฝ้ายเปลี่ยนแปลงพันธุ์ที่มีผลต่อผึ้งและชันโรง การทดลองนี้ทำในกรงและมีระยะเวลาสั้นเพียงหนึ่งสัปดาห์ โดยปล่อยให้ผึ้งเข้าไปกินน้ำหวานในช่วงที่ฝ้ายออกดอก และพบว่ามีผึ้งตายในลักษณะที่แตกต่างกัน แต่ไม่ได้ทำการทดลองเพิ่มเติม เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนว่าฝ้ายบีทีมี ผลกระทบต่อผึ้งจริงหรือไม่อย่างไร เพียงแต่ระบุว่าเกิดจากสภาพโรงเรือนที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น
การทดลองที่เหมาะสมควรทำในแปลงขนาด ๑ ไร่ต่อหนึ่งพันธุ์ฝ้าย เพื่อให้ปริมาณดอกฝ้ายเพียงพอต่อแมลงและใช้ระยะเวลานานเพื่อศึกษาวงจรชีวิต ของผึ้ง อย่างไรก็ตาม แมลงที่มีประโยชน์ต่อฝ้ายมีหลากหลายชนิด การทำการทดสอบผลกระทบที่มีต่อแมลงที่มีประโยชน์เฉพาะชันโรงและผึ้งไม่น่าจะ เพียงพอ
๔. การศึกษาความปลอดภัยในการบริโภค ไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังในเรื่องนี้ใช้เพียงแค่เอกสารยืนยันความปลอดภัยที่คณะกรรมการกลางความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติจัดทำขึ้น แล้วให้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาพิจารณา ซึ่งทำการศึกษาเฉพาะกระบวนการผลิตน้ำมันจากเมล็ดฝ้ายที่ใช้ความร้อนและความ ดันสูง แต่ไม่ได้ศึกษาในด้านของการนำใบฝ้ายและสมอฝ้ายมากินเป็นผัก การใช้เมล็ดฝ้ายทำยาสมุนไพร หรือแม้แต่ผลกระทบของกากเมล็ดฝ้ายในอาหารสัตว์เป็นต้น
ในการทดสอบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพต่อกรณีฝ้ายบีที ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิสูจน์ผลกระทบในเรื่องต่าง ๆ จะต้องทำการศึกษาให้ครอบคลุม และใช้ระยะเวลายาวนานขึ้น แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี ความหลากหลายทางชีวภาพน้อยมาก ยังใช้เวลาในการศึกษาเป็นเวลานับสิบปี ขณะที่ประเทศไทยนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ทั้งชนิดพันธุ์พืชต่าง ๆ ชนิดของแมลงต่าง ๆ มีความหลากหลายและมีความใกล้เคียงกันมาก สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน

ที่มา : http://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue4/articles/article2.html

http://student.nu.ac.th/nick_edu/lesson5.html

http://www.edu.nu.ac.th/wbi/370531/somkit/technique1.htm

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/27/contents/genetics-905c.html

http://www.sarakadee.com/feature/2000/10/cotton.htm


1 ความคิดเห็น:

  1. Tinting Titanium's Stone Countertops | Tinting Titanium's Stone
    A Tinting Titanium's Stone Countertops is a true bronze countertops in 2020 edge titanium the Tinting Titanium titanium edc family microtouch trimmer of craft. This glass countertops is available micro titanium trim in two titanium quartz crystal

    ตอบลบ